ข้อจำกัดในการทำประกันสุขภาพที่คุณควรรู้

ประกันสำหรับผู้สูงอายุ

ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีข้อจำกัด กำหนดกฏเกณฑ์เอาไว้ทั้งนั้นก็ว่าได้ครับ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของ “การทำประกันสุขภาพ” ที่จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงทางด้านต่างๆ นอกเหนือจากเรื่องของสุขภาพอีกด้วยหล่ะครับ วันนี้เราจะขอแนะนำท่านผู้อ่านให้เข้าใจเกี่ยวกับ “ข้อจำกัดในการทำประกันสุขภาพที่คุณควรรู้” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น… เราไปดูกันดีกว่าครับ

ประกันสุขภาพที่ดีเป็นอย่างไร?

ตาม คปภ. ได้อธิบาย “การประกันสุขภาพ” คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย การประกันสุขภาพมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีขอบเขตความคุ้มครองแค่ไหน การประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพหมู่และการ  ซึ่งประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพรายบุคคล ทั้ง 2 ประเภท ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่

1. ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก          
2. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
3. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
6. ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
7. การชดเชยค่าใช้จ่าย

ประกันสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างไร?

ลักษณะเฉพาะของแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุที่แตกต่างจากประกันแบบทั่วไป คือ ช่วงอายุที่ผู้สูงอายุสามารถทำประกันได้อยู่ในช่วงอายุ ตั้งแต่ 50-70 ปี โดยจะได้รับความคุ้มครองยาวไปจนถึงอายุ 80 ปี 90 ปี หรือยาวนานจนตลอดชีพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน ซึ่งจะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าซึ่งขึ้นตามอายุขัยนั้นเองครับ

นอกจากนี้ด้วยตัวประกันชีวิตผู้สูงอายุ ทางเลือกเพื่อความมั่นคงของครอบครัว เนื่องด้วยเหตุที่ชีวิตหลังเกษียณเป็นช่วงเวลาที่ไม่สามารถหารายได้เช่นเดียวกับวัยหนุ่มสาว ในขณะเดียวกันวัยเกษียณก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเจอกับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ไม่คาดคิด เช่น ค่ารักษาจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรืออุบัติเหตุที่จำเป็นต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเป็นไปได้ที่คุณจะสูญเสียความมั่นคงทางการเงินในวัยชราจึงเป็นไปได้สูง ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประกันชีวิตผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณที่ดีเป็นหลักนั้นเองครับ

ข้อจำกัดในการทำประกันด้านต่างๆ

การพิจารณาตอบรับประกันภัยของบริษัท ย่อมขึ้นอยู่กับสุขภาพ / อายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ และในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยนั้น บริษัทจะไม่คุ้มครอง “โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย” อาทิเช่น หากผู้เอาประกันภัยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนการทำประกันภัย บริษัทจะไม่คุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยนั้นต้องรักษาตัวด้วยโรคเบาหวาน แต่จะคุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยนั้นเกิดเป็นโรคหัวใจขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น หากผู้ขอเอาประกันภัยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวหลายอย่างโอกาสที่จะเจ็บป่วยในอนาคต ย่อมมากกว่าผู้มีสุขภาพแข็งแรง บริษัทอาจจะพิจารณารับประกันภัยผู้ขอเอาประกันภัยรายนั้น ด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้ ซึ่งตัวอย่างในกรณีที่ผู้ขอเอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เช่น เอดส์ มะเร็ง บริษัทมักจะไม่รับประกันภัย

หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของประกันสุขภาพเป็นอย่างไร?

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันสุขภาพ ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภทอื่น ๆ คือ “จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้”  นอกจากนี้ยังมีข้อยกเว้นความคุ้มครองอีกด้วย ซึ่งการประกันสุขภาพโดยทั่วไป จะไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัวซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค การติด และการตรวจสายตา เช่นกัน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อจำกัดในการทำประกันสุขภาพที่คุณควรรู้” และความรู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพที่เราได้รวบรวมมากฝากทุกๆ ท่าน หวังว่าจะชอบกันนะครับ

About the Author

You may also like these