แนวทางการเบิกประกันที่ต้องรู้

การเบิกประกัน

หลายๆ ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ครบว่า ถ้าเราประสบเหตุที่ต้องใช้งานหรือเบิกเงินเคลมจากประกันรูปแบบต่างๆ ที่เราได้ทำเอาไว้นั้น… เค้ามีขั้นตอนการทำงานหรือวิธีการเบิกอย่างไรบ้าง วันนี้เราเลยจะเป็นตัวแทนหมู่บ้านพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “แนวทางการเบิกประกันที่ต้องรู้” ที่เราจะพาทุกท่านไปหาความรู้ด้วยกันครับ จะมีอะไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

ขั้นตอนเบื้องต้นในการเคลมประกัน

  • หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือรู้ผลวินิจฉัยจากแพทย์ ให้ติดต่อฝ่ายเคลมประกันที่รู้ใจทันที โทร 02 582 8855 กด 2 หากต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้โทรเรียกรถพยาบาลก่อนโทรหารู้ใจ
  • แจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าต้องการใช้เอกสารในเคลมประกันทั้งหมด
  • เตรียมเอกสารและหลักฐานทั้งหมดที่จำเป็น ตามรายการของความคุ้มครองแต่ละประเภท
  • ส่งเอกสารและหลักฐานมาที่รู้ใจ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เราจะตรวจสอบและพิจารณาการเคลมประกัน โดยอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็น

ระยะเวลาพิจารณาเคลมประกัน บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วัน หลังจากตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดแล้ว หากมีเหตุให้สงสัยว่าการเคลมประกันไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ระยะเวลาดังกล่าวอาจขยายออกไปได้ตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน

การเรียกร้องและเอกสารที่ใช้ในการเคลมประกัน

  • ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งหลักฐานมาที่รู้ใจภายใน 30 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือวันที่รับการรักษาจากคลินิก ได้แก่
  • แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ที่กำหนดโดยบริษัท หรือ แบบฟอร์มกลางจากโรงพยาบาล
  • ใบรายงานแพทย์ที่ระบุอาการสำคัญ ผลการตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษา
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เอาประกันภัย พร้อมรับรองสำเนา
  • ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับที่แสดงรายการแสดงค่าใช้จ่าย หรือใบสรุปปิดหน้างบกับใบเสร็จรับเงิน
  • เอกสารหรือหลักฐานตามที่บริษัทต้องการตามความจำเป็น (ถ้ามี)

กรณีที่คุณได้ชำระค่ารักษาพยาบาลตามมาตรฐานทางการแพทย์ บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่จ่ายไปจริงตามความจำเป็นทางการแพทย์ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์ และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และ/หรือ ใบรับรองการประกันภัยกรณีต่ออายุ

ใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายการค่าใช้จ่ายต้องเป็นใบเสร็จต้นฉบับที่ได้มีการชำระค่าใช้จ่ายไปจริง กรณีที่คุณมีความจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จต้นฉบับสำหรับการเรียกร้องอื่นๆ บริษัทฯ จะคืนใบเสร็จต้นฉบับที่รับรองยอดเงินที่จ่ายไปแล้วให้คุณ เพื่อใช้เรียกร้องส่วนที่ขาดจากผู้รับประกันภัยรายอื่น และหากผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการของรัฐ สวัสดิการอื่น ๆ หรือจากการประกันภัยที่อื่นมาแล้ว บริษัทจะชดเชยให้เพียงจำนวนเงินในส่วนที่ขาดเท่านั้น และไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และ/หรือ ใบรับรองการประกันภัยกรณีต่ออายุ

ประเภทของประกันต่างๆ แบ่งเป็นกี่ประเภท

1. การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person)

เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่

  1. การประกันชีวิต เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้ประกัน ซึ่งมักเป็นบริษัทประกันชีวิต กับผู้เอาประกัน โดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ผู้รับประกัน หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับภายในเงื่อนไขในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เรียกว่าเงินสินไหม
  2. การประกันอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต
  3. การประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย

2. การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance)

เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่ การประกันอัคคีภัย, การประกันภัยรถยนต์

3. การประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Insurance)

เป็นการประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือทรัพย์สิน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “แนวทางการเบิกประกันที่ต้องรู้’ พร้อมกับแนะนำประกันประเภทต่างๆ ให้ทุกๆ ท่านได้ทราบกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

About the Author

You may also like these