ประกันสุขภาพมีการแบ่งประเภทหรือไม่

ประกันสุขภาพมีกี่ประเภท

สิ่งที่สำคัญสำหรับเราทุกๆ คนมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “สุขภาพ” เพราะการมีสุขภาพร่างกายที่ดี ก็จะถือได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งเลยก็ว่าได้ครับ วันนี้เราจะมาเอาใจทุกๆ ท่านกำลังมองหาการวางแผนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกันอยู่ เราจะขอนำพาท่านไปพบกับ “ประกันสุขภาพประเภทต่างๆ ” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น… เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ประกันสุขภาพมีกี่ประเภทกันนะ

ประกันสุขภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท อันได้แก่…

●ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยนอก (OPD) การประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันได้รับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล พบแพทย์ วินิจฉัย จ่ายยา (ถ้ามี) แล้วก็กลับบ้านได้เลย หรือกรณีที่เรามีอาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น การฉีดวัคซีน เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เป็นต้น

●ประกันสุขภาพ ผู้ป่วยใน (IPD) การประกันสุขภาพผู้ป่วยใน คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไป กรณีที่เราต้องนอนพักในโรงพยาบาล ทั้งนี้รวมถึงการที่โรงพยาบาลรับตัวผู้ป่วยหรือผู้เอาประกันไว้ แต่เสียชีวิตลงภายใน 6 ชั่วโมงด้วยนะครับ

●ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR) เนื่องจากบางโรคนั้นเป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ซึ่งบางครั้งประกันสุขภาพที่มีอยู่จะให้ความคุ้มครองได้ไม่เพียงพอ จึงมี ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและต้องรักษาต่อเนื่องโดยเฉพาะ หรือโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งประกันแบบนี้ก็จะระบุในกรมธรรม์ครับว่า จะจ่ายเงินเมื่อเราเป็นโรคอะไรบ้าง จ่ายเมื่อตรวจเจอ หรือเป็นโรคอยู่ที่ระดับไหน อย่างไร

●ประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ (PA) ประกันอุบัติเหตุ คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาตัวของเรา ถ้าหากร้ายแรงถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เราด้วยครับ

●ประกันชดเชยรายได้ การประกันชดเชยรายได้ คือ ความคุ้มครองเกี่ยวกับรายได้ของผู้เอาประกันระหว่างนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเป็นรายวันให้ ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็เพื่อเป็นการชดเชยรายได้เมื่อเราไม่สามารถทำงานได้จากการพักรักษาตัวนั่นเอง รายละเอียดก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรมธรรม์

ทำไมต้องทำประกันตอนอายุน้อยๆ

นั้นเป็นเพราะว่า การทำประกันในช่วงอายุ 20 ปีจะช่วยให้คุณได้จ่ายเงินทำประกันในอัตราที่ดี เนื่องจากในหลายๆ กรมธรรม์ อายุน้อยกว่าก็ชำระค่าเบี้ยน้อยกว่า วัยรุ่นมีความเสี่ยงน้อยกว่า แผนประกันสุขภาพต่างๆ จึง

ข้อควรระวังในการทำประกันสุขภาพ

●เพราะประกันสุขภาพบางตัวจะมี ระยะเวลารอคอย หรืออีกชื่อหนึ่งเราจะเรียกว่า ระยะเวลาที่ประกันไม่คุ้มครอง ไม่ใช่ว่าอนุมัติปุ๊ป แล้วจะได้ความคุ้มครองทันทีนะ เก็บอาการเบาหวานขึ้นตาไว้ก่อน แต่ระยะเวลาที่ต้องรอนั้นจะนานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์นั้นๆ โดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ราวๆ 30-120 วัน

●เบี้ยประกันสุขภาพเป็นแบบจ่ายทิ้งปีต่อปี ไม่มีสะสมเหมือนกับประกันสะสมทรัพย์ หรือประกันแบบบำนาญ แถมยังมีมีสัญญาคุ้มครองแบบปีต่อปี ดังนั้นหากเรามานั่งคิดดูแล้วว่าไม่อยากทำต่อ หรือสนใจอยากจะทำตัวอื่นเราก็สามารถยกเลิกกรมธรรม์นั้นได้เลย แต่ถ้าทำเรื่องยกเลิกแล้วคือยกเลิกเลยนะ จะกลับมาขอคบไม่ได้แล้วนะ อยากทำคือสมัครใหม่อย่างเดียว แต่ก็ยังพ่วงกับประกันชีวิตของเราอยู่เหมือนเดิม

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ  “ประกันสุขภาพมีการแบ่งประเภทหรือไม่” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางที่ดีและเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะครับ

About the Author

You may also like these