หลักการเลือกทำประกันชีวิตที่ดี

ประกันชีวิต

การวางแผนชีวิตและแผนอนาคตถือจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดมากกว่าได้ ซึ่งหากวางแผนได้ดีก็จะทำให้ชีวิตอนาคตราบรื่นเป็นอย่างมากเลยหล่ะครับ เฉกเช่นเดียวกับการเลือก “ประกันภัยที่ดี” ถ้าเลือกไม่ผิด ก็จะหมดห่วงคนรุ่นหลังได้เลยหล่ะครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปค้นหาและเปรียบว่า “เลือกประกันชีวิตที่ไหนดีกว่ากัน” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเล้ย!!

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประกันชีวิตที่ควรรู้?

ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันชีวิต จะประกอบด้วย 3 ฝ่าย ซึ่งได้แก่

1.  ผู้รับประกันภัย  คือบริษัทประกันชีวิต​ ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ การประกันกรณีทุพพลภาพ หรือการประกันสุขภาพ (ดูรายชื่อบริษัท)​

2​.  ผู้เอาประกันภัย  คือบุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทฯ โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต​

3.  ผู้รับประโยชน์  คือบุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต​​​​

โดยประเภทของการประกันชีวิต จะแบ่งแยกออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1.ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูงตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ​

​​​​​

2.ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ตั้งแต่ 10,000 – 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ  ดังนั้น จึงมีระยะเวลารอคอยคือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลารอคอย บริษัทฯ จะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด​​

3.​ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) คือ การประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันภัยอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ  การประกันชีวิตประเภทนี้ ค่าเบี้ยประกันภัยจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรม

หลักการเลือกประกันชีวิตที่ดีทำได้อย่างไรบ้าง?

การเลือกประกันชีวิตที่ดีและเหมาะสมกับท่านผู้อ่านสามารำถทำได้ดังนี้

พิจารณารายได้ การทำประกันนั้นอาจถือเป็นหนึ่งในการออมทางเลือกที่หลายคนให้ความไว้วางใจ ที่นอกจากจะเป็นการเก็บเงินก้อนแล้ว ยังเป็นการรองรับความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย แต่ทว่าหลายคนก็เลือกจะทำประกันที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องจ่ายเบื้ยประกันสูงตาม เราอาจมั่นใจกับการประกันภัยดังกล่าวในระยะสั้น ทว่าระยะยาวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือ 10-20% ของรายได้

พิจารณาความเสี่ยงในการทำงาน รวมไปถึงการเดินทางก็นับเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง หากทำงานใกล้บ้าน งานออฟฟิศ อาจใช้เป็นการทำประกันสุขภาพ ที่มีความเกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าออกต่างจังหวัดบ่อย งานมีความเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิตอาจมีความสำคัญมากขึ้น

พิจารณาความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งแม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนแต่ความเสี่ยงในโรคภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

พิจารณาว่าเราเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัวหรือไม่? ครอบครัวต้องพึ่งพิงรายได้ของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นหลัก ควรที่จะมีประกันชีวิตเพื่อคุ้มครอง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรืออุบัติเหต จนไม่สามารถทำงาน หรือขาดรายได้ คนข้างหลังจะลำบาก แล้วควรจะทำประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายครอบครัวต่อปี คูณด้วย 5 ปี ได้เท่าไหร่นั้นก็คือทุนประกันชีวิตที่ควรจะมีเพื่อให้คนข้างหลังสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติและมีเวลาตั้งตัวได้ หากเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องส่งนั้นสูงเกินกว่าที่จะส่งไหวก็ยังไม่จำเป็นต้องทำทุนประกันสูงถึงที่คำนวณไว้ให้เริ่มจากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตน้อยๆ และเมื่อจ่ายไหวค่อยทำประกันชีวิตฉบับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม

และนี้คือ “หลักการเลือกทำประกันชีวิตที่ดี” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

About the Author

You may also like these